วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความเครียดกับสุขภาพ

1. เรื่องความเครียด กับสุขภาพ
2.ที่มาและความสำคัญ
ที่มา
โดยทั่วไปความเครียดมักจะเกิดขึ้นเป็นช่วงสั้น ๆ และหายไปเมื่อเราผ่านเหตุการณ์นั้น ๆ เช่น ในช่วงสอบนักเรียนมักจะรู้สึกกังวลว่าจะทำข้อสอบไม่ได้ หรือพนักงานบริษัทกลัวว่าจะไปทำงานไม่ทันขณะขับรถที่ติดแง่กอยู่บนทางด่วน เป็นต้น เนื่องจากเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่นาน ความเครียดประเภทนี้จึงไม่ได้ส่งผลร้ายต่อร่างกายคนเรามากนัก แต่ก็อาจจะทำให้รู้สึกปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ หรือท้องไส้ปั่นป่วนได้
ช่วงใกล้สอบ, ต้องเข้าโรงพยาบาล, นั่งลุ้นรางวัลกองสลาก, เดินทางไปบ้านเจ้าสาวเพื่อเผชิญหน้าอนาคตพ่อตาแม่ยาย, หรือเมื่อทราบว่าคน ใกล้ชิดเสียชีวิต ? แน่นอน , แต่ละคนคงมีคำตอบที่หลากหลายบางคนก็เกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัว
เหตุการณ์ข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของอีกหลาย ๆ สาเหตุความเครียดของมนุษย์ เพราะคนเราทุกคนต่างดำรงชีวิตอยู่ภายในสิ่งแวดล้อมที่ยากแก่การคาดเดา นอกจากเวลาที่ผ่านไปกับการเดินของเข็มนาฬิกาซึ่งเป็นสิ่งที่แน่นอนแล้ว, เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าจะต้องเผชิญหน้ากับอะไรแม้เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นในเสี้ยววินาทีข้างหน้า ธรรมชาติจึงสร้างมนุษย์ขึ้นมาบนพื้นฐานของความยืดหยุ่นและการปรับตัว เรามีความสามารถในการหาคุณค่าของสิ่งรอบข้างและนำมันมาใช้ ตลอดจนเชี่ยวชาญอย่างยิ่งในการพลิกวิกฤตเป็นโอกาส แต่กระนั้น ความสามารถของเราก็ยังคงมีข้อจำกัด และเมื่อใดที่ความเป็นไปของธรรมชาติรอบข้างก้าวเลยขอบเขตนั้น มนุษย์ก็จะเกิดความไม่สบาย ทุกข์ใจ และกลายเป็นความเครียดขึ้น
ความเครียด คือ "กระบวนการที่ร่างกายใช้เพื่อตอบสนองต่อแรงกระตุ้นจากภายนอกที่ไม่เหมาะสม หรือมากเกินความสามารถในการปรับตัวของมนุษย์" นั่นเอง

ความสำคัญ
ความเครียด เป็นเรื่องของร่างกายและจิตใจ ที่เกิดการตื่นตัว เตรียมรับกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งเราคิดว่าไม่น่าพอใจ เป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสเกินกำลังทรัพยากรที่เรามีอยู่ หรือเกินความสามารถของเราที่จะแก้ไขได้ ทำให้รู้สึกหนักใจ เป็นทุกข์ และพลอยทำให้เกิดอาการผิดปกติทางร่างกายและพฤติกรรมตามไปด้วย
ความเครียดนั้นเป็นเรื่องที่มีกันทุกคน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพปัญหา การคิด และการประเมินสถานการณ์ของแต่ละคน ถ้าเราคิดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ร้ายแรง เราก็จะรู้สึกเครียดน้อยหรือแม้เราจะรู้สึกว่าปัญหานั้นร้ายแรง แต่เราพอจะรับมือไหว เราก็จะไม่เครียดมาก แต่ถ้าเรามองว่าปัญหานั้นใหญ่ แก้ไม่ไหว และไม่มีใครช่วยเราได้ เราก็จะเครียดมาก ความเครียดในระดับพอดี จะช่วยกระตุ้นให้เรามีพลัง มีความกระตือรือร้นในการต่อสู้ชีวิต ช่วยผลักดันให้เราเอาชนะปัญหาและอุปสรรค์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น แต่เมื่อใดที่ความเครียดมาเกินไป จนเราควบคุมไม่ได้ เมื่อนั้นที่เราจะต้องมาผ่อนคลายความเครียดกัน
ดังนั้น ความเครียด เป็นสภาวะจิตใจและร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นผลจากการที่บุคคลต้องปรับตัวต่อสิ่ง กระตุ้นหรือสิ่งเร้าต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมที่กดดันหรือคุกคามให้เกิด ความทุกข์ ความไม่สบายใจ
สาเหตุที่ก่อให้เกิดความเครียด

ความเครียดเกิดจากสาเหตุสำคัญ ๒ ประการคือ
1. สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น ปัยหาการเงิน ปัญหาการงาน ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเรียน ปัญหาสุขภาพ ปัญหามลพิษ ปัญหารถติด ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาฝนแล้ง ปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคล ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้คนเราเกิดความเครียดขึ้นมาได้
2. การคิดและการประเมินสถานการณ์ของบุคคล เราจะสังเกตได้ว่า คนที่มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน ใจเย็น จะมีความเครียดน้อยกว่าคนที่มองโลกในแง่ร้าย เอาจริงเอาจังกับชีวิต และใจร้อน นอกจากนี้คนที่รู้สึกว่าตัวเองมีคนคอยให้การช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาเช่น มีคู่สมรส มีพ่อแม่ ญาติพี่น้อง มีเพื่อนสนิทที่รักใคร่ และไว้วางใจกันได้ ก็จะมีความเครียดน้อยกว่าคนที่อยู่โดดเดี่ยวตามลำพัง
ความเครียดมักไม่ได้เกิดจากสาเหตุเพียงใดสาเหตุเดียว แต่มักจะเกิดจากทั้งสองสาเหตุประกอบกัน คือมีปัญหาเป็นตัวกระตุ้น และมีการคิด การประเมินสถานการณ์ เป็นตัวบ่งบอกว่าจะเครียดมากน้อยแค่ไหนนั่นเอง
แนวทางในการจัดการกับความเครียด มีดังนี้
1. หมั่นสังเกตควาผิดปกติทางร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรมที่เกิดจากความเครียด ทั้งนี้อาจใช้แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองก็ได้
2. เมื่อรู้ตัวว่าเครียดจากปัญหาใด ให้พยายามแก้ปัญหานั้นให้ได้โดยเร็ว
3. เรียนรู้การปรับเปลี่ยนความคิดจากแง่ลบให้เป็นแง่บวก
4. ผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีที่คุ้นเคย
5. ใช้เทคนิคเฉพาะในการคลายเครียด

การสำรวจความเครียดของตนเอง
ความเครียดจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางร่างกาย จิตใจและพฤติกรรมดังนี้
1.ความผิดปกติทางร่างกาย ได้แก่ ปวดศีรษะ ไมเกรน ท้องเสียหรือท้องผูก นอนไม่หลับหรือง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหารหรือกินมากกว่าปกติ ท้องอืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ประจำเดือนมาไม่ปกติ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ มือเย็นเท้าเย็น เหงื่อออกตามมือตามเท้า ใจสั่น ถอนหายใจบ่อย ๆ ผิวหนังเป็นผื่นคัน เป็นหวัดบ่อย ๆ แพ้อากาศง่าย ฯลฯ
2.ความผิดปกติทางจิตใจ ได้แก่ ความวิตกกังวล คิดมาก คิดฟุ้งซ่าน หลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด โกรธง่าย ใจน้อย เบื่อหน่าย ซึมเศร้า เหงา ว้าเหว่ สิ้นหวัง หมดความรู้สึกสนุกสนาน เป็นต้น
3.ความผิดปกติทางพฤติกรรม ได้แก่ สูบบุหรี่ ดื่มสุรามากขึ้น ใช้สารเสพติด ใช้ยานอนหลับ จู้จี้ขี้บ่น ชวนทะเลาะ มีเรื่องขัดแย้งกับผู้อื่นบ่อย ๆ ดึงผม กัดเล็บ กัดฟัน ผุดลุกผุดนั่ง เงียบขรึม เก็บตัว เป็นต้น ทั้งนี้ อาจสำรวจความเครียดของคุณได้โดยการใช้แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง
ผลกระทบของความเครียด
ผลกระทบต่อตนเอง
ทางกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดศีรษะข้างเดียว หัวใจเต้นแรงและเร็ว มือ เท้าเย็น ท้องอืด คลื่นไส้หรือปั่นป่วนในท้อง ความดันโลหิตสูง หอบหืด โรคหัวใจ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ฯลน
ทางอารมณ์ เช่น หงุดหงิด โกรธง่าย วิตกกังวล ซึมเศร้า ฯลฯ
ทางด้านความคิด เช่น หดหู่ ไม่มีสมาธิ ตัดสินใจลำบาก หลงลืมง่าย มีความคิดทางลบมากกว่าทางบวก เห็นตัวเองไม่มีคุณค่า สิ้นหวัง ฯลฯ
ทางพฤติกรรม เช่น ดื่มจัดมากเกินไป สูบบุหรี่จัด ไม่เจริญอาหาร ก้าวร้าว นอนไม่เต็มที่ ฯลฯ
ผลกระทบของความเครียดต่อครอบครัว
ครอบครัวขาดการสื่อสารที่ดีซึ่งกันและกันไม่ยอมรับและไม่มีความเข้าใจกันเกิดความขัดแย้งทะเลาะวิวาท เกิดการหย่าร้าง หรือแยกกันอยู่ระหว่างสามีภรรยา ลูกไม่ได้รับความรักความอบอุ่น และความเอาใจใส่จากพ่อแม่
ผลกระทบของความเครียดต่อการงาน
ไม่มีสมาธิในการทำงาน ทำงานบกพร่องและผิดพลาดไม่รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายขาดงานบ่อยประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
ข้อดีและข้อเสียของความเครียด
ความเครียดในระดับต่ำในระยะสั้นๆ จะทำให้มีการตื่นตัว มีความกระตือรือร้นในการทำงาน เช่น ก่อนสอบจะมีสมาธิในการอ่านหนังสือ ข้อเสีย ถ้ามีความเครียดระดับสูงในระยะยาวไม่ได้รับการแก้ไขจะส่ง
ผลเสียต่อตนเองครอบครัว การงาน
3. วัตถุประสงค์ของ การทำBlog
1.เข้าใจเกี่ยวกับความหมายของความเครียด
2.รู้สาเหตุที่ก่อให้เกิดความเครียด การตอบสนองของร่างกายต่อความเครียด
3.รู้หลักการหรือวิธีการจัดการกับความเครียด
4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เมื่อเราเกิดความเครียดทำให้เรารู้จักวิธีการจัดการกับความเครียด
2. รู้ปัญหาที่ทำให้เราเกิดความเครียด
3.รู้หลักการในการสำรวจความเครียดของตนเอง